เช็คสิทธิประโยชน์ ประกันสังคม หลังกระทรวงแรงงาน เตรียมปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูง ที่ใช้เป็นฐานคำนวณจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมใหม่ ผู้ประกันตน ม.33 ได้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไร ไปดูความน่าสนใจนี้พร้อมๆ กันได้เลยครับ …
เช็คสิทธิประโยชน์ ประกันสังคม ที่เพิ่ม หลังปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูงใหม่
จากรณี กระทรวงแรงงาน ได้เปิดรับฟังความคิดเห็น ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. … ผ่านเว็บไซต์ระบบกลางกฎหมาย law.go.th หรือ คลิกที่นี่
ร่างกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว จะกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ของผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยจะปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูงจาก 15,000 บาท แบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นสูงสุด 23,000 บาท ตั้งแต่ปี 2573 เป็นต้นไป
ล่าสุด สำนักงานประกันสังคม ได้ไขข้อสงสัยในหลายประเด็น ทั้งที่มาของการปรับเพดานค่าจ้าง จนถึงสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น เมื่อปรับเพิ่มเพดานค่าจ้าง
เริ่มจากประเด็นแรก
ที่มาของการปรับเพดานค่าจ้างเป็น 17,500 – 23,000 บาท
1.หลักการสากลในการกำหนดเพดานค่าจ้าง
ค่าจ้างเฉลี่ยของผู้ประกันตนทุกคน X 1.25 และควรปรับทุกปี
2.ปี 2565 ค่าจ้างเฉลี่ยผู้ประกันตน ม.33 = 18,400 บาท
ดังนั้นควรปรับเพดานค่าจ้างเป็น 23,000 บาท
3.การปรับเพดานค่าจ้าง 1.25 เท่า ในทันทีอาจส่งผลกระทบ
เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมไม่ได้มีการปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูงมากว่า 30 ปี จึงปรับแบบขั้นบันได
• 2567-2569 = 17,500 บาท (เปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 ของ 23,000 บาท)
• 2570-2572 = 20,000 บาท
• 2573 เป็นต้นไป = 23,000 บาท
เหตุผลความจำเป็นในการปรับเพดานค่าจ้าง
• เพื่อให้สิทธิประโยชน์(เงินทดแทนการขาดรายได้)พอเพียงกับการครองชีพในปัจจุบันของผู้ประกันตน
• เพื่อกระจายรายได้ จากผู้มีรายได้สูง ไปสู่ผู้มีรายได้น้อย
• เพื่อเพิ่มโอกาสในการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์
เงินสมทบ กรณีเพดานขั้นสูง
• เพดานค่าจ้าง 15,000 บาท(ปัจจุบัน) ลูกจ้าง 5% (750 บาท) นายจ้าง 5% (750 บาท) รัฐบาล 2.75% (413 บาท)
• เพดานค่าจ้าง 17,500 บาท(2567-2572) ลูกจ้าง 5% (875 บาท) นายจ้าง 5% (875 บาท) รัฐบาล 2.75% (481 บาท)
• เพดานค่าจ้าง 20,000 บาท(2569-2572) ลูกจ้าง 5% (10,000 บาท) นายจ้าง 5% (10,000 บาท) รัฐบาล 2.75% (550 บาท)
• เพดานค่าจ้าง 23,000 บาท(2573 เป็นต้นไป) ลูกจ้าง 5% (1,150 บาท) นายจ้าง 5% (1,150 บาท) รัฐบาล 2.75% (633 บาท)
ผู้ประกันที่ค่าจ้างต่ำกว่า 15,000 บาท ได้รับผลกระทบหรือไม่
ไม่ได้รับผลกระทบ โดยผู้ประกันตนจะนำส่งเงินสมทบ 5% ของค่าจ้างตามจริงที่นายจ้างรายงงานต่อสำนักงานประกันสังคม เช่น
กรณีค่าจ้างเดือนละ 10,000 บาท ผู้ประกันตนจะนำส่งเงินสมทบเดือนละ 500 บาท(10,000 x 5% = 500)
*ผู้ประกันตนที่มีค่าจ้าง 15,000 ขึ้นไป มีประมาณ 37% ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะต้องส่งเงินสมทบเพิ่มจากการปรับเพดาฯค่าจ้าง แต่จ่ายอัตราเงินสมทบ 5% เท่าเดิม
สิทธิประโชน์ที่เพิ่มขึ้นเมื่อปรับเพิ่มเพดานค่าจ้าง
เจ็บป่วย
• ปัจจุบัน(15,000 บาท) 250 บาทต่อวัน
• ปี 2567-2569(17,500 บาท) 292 บาทต่อวัน
• ปี 2570-2572(20,000 บาท)333 บาทต่อวัน
• ปี 2573 เป็นต้นไป(23,000 บาท) 383 บาทต่อวัน
ว่างงาน
• ปัจจุบัน(15,000 บาท) 7,500 บาทต่อเดือน
• ปี 2567-2569(17,500 บาท) 8,750 บาทต่อเดือน
• ปี 2570-2572(20,000 บาท) 10,000 บาทต่อเดือน
• ปี 2573 เป็นต้นไป(23,000 บาท) 11,500 บาทต่อเดือน
บำนาญ(ส่งเงินสมทบ 15 ปี)*
• ปัจจุบัน(15,000 บาท) 3,000 บาทต่อเดือน
• ปี 2567-2569(17,500 บาท)3,500 บาทต่อเดือน
• ปี 2570-2572(20,000 บาท) 4,000 บาทต่อเดือน
• ปี 2573 เป็นต้นไป(23,000 บาท 4,600 บาทต่อเดือน
บำนาญ(ส่งเงินสมทบ 25 ปี)*
• ปัจจุบัน(15,000 บาท) 5,250 บาทต่อเดือน
• ปี 2567-2569(17,500 บาท) 6,125 บาทต่อเดือน
• ปี 2570-2572(20,000 บาท)7,000 บาทต่อเดือน
• ปี 2573 เป็นต้นไป(23,000 บาท)8,050 บาทต่อเดือน
*คำนวณจากสมมติฐานค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนเกษียณอายุเท่ากับเพดานค่าจ้างตามตาราง
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
……………………………………….
ท่ามกลางเศรษฐกิจฝืดเคืองทั่วโลกเช่นนี้ ในบางครั้งบางวัน หากคุณเงินขาดมือ ขาดสภาพคล่อง มาสิ ก็ขอแนะนำ https://masii.co.th/thai/loan เว็บไซต์ที่เชี่ยวชาญด้านการเงินและเทคโนโลยี ที่ให้บริการข้อมูลในด้านของการ เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และ ประกันภัย ต่างๆ ให้กับคนไทย โดยมีผู้ใช้บริการมากกว่า 10 ล้านคนจากทั่วประเทศ ซึ่งเว็บไซต์ของเรามีความเชื่อถือได้ และช่วยให้คุณและครอบครัวตัดสินใจทางการเงินได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงสร้างทางเลือกสู่อิสรภาพทางด้านการเงินให้กับคุณ
สนใจสมัคร สินเชื่อส่วนบุคคล
เปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
หากใครมีข้อสงสัยเพิ่มเติม โทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือ แอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะครับ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมถึง สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด และ บัตรเครดิต จากสถาบันการเงินชั้นนำ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม
- รวม เงินฝากออมทรัพย์ ดอกเบี้ยสูง ปี 2566 แบบมีสมุด ออมได้ไม่ต้อง เปิดบัญชีออนไลน์
- masii tips I เปลี่ยนงานใหม่ อย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ
- “อยาก ให้เงินทำงาน … แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร?” ที่นี่ มีคำตอบ!
- masii ชวนมู! รวม สถานที่ขอหวย สายมูห้ามพลาด ถูกทุกทรง ตรงทุกงวด
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์
#ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน
#เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก
#เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#SimplifiedComparison