ก่อนเลือกสมัครสินเชื่อนอกจากพิจารณายอดเงินอนุมัติและระยะการผ่อนชำระให้เหมาะสมแล้ว ก็อย่าลืมดู อัตราดอกเบี้ย ควบคู่กันด้วย ซึ่งหลัก ๆ แล้วอัตราดอกเบี้ยจะมีด้วยกัน 2 แบบคือ ดอกเบี้ยเงินกู้คงที่และลอยตัว แล้วดอกเบี้ยทั้ง 2 แบบมีความแตกต่างกันยังไงบ้าง masii มีคำตอบมาฝากกันแล้ว
ดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่และลอยตัว ต่างกันยังไง
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เป็นตัวเลขเฉพาะ ไม่ปรับขึ้นหรือลงตามต้นทุนของสถาบันการเงิน มีอัตราคงที่ตลอดอายุสัญญาเงินกู้หรือในช่วงเวลาที่กำหนด ส่วนใหญ่จะใช้กับสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ซึ่งจะคำนวณดอกเบี้ยที่ลูกค้าต้องชำระจากเงินต้นทั้งก้อนที่คงที่ตลอดอายุของสัญญา
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับขึ้นหรือลงได้ตามสถานการณ์ตลาดเงินหรือต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงิน โดยแยกย่อยออกเป็นอีก 3 แบบ คือ
- MLR (Minimum Loan Rate) อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ ส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ
- MOR (Minimum Overdraft Rate) อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี
- MRR (Minimum Retail Rate) อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย
สนใจสมัครสินเชื่อส่วนบุคคล
อย่างไรก็ตามก่อนตัดสินใจสมัครสินเชื่อ อย่าลืมสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ส่วนใครที่กำลังมองหาสินเชื่อเพื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียน ก็ไม่ยุ่งยากสามารถ คลิกที่นี่ หรือโทรมาสอบถามรายละเอียดได้ที่ 02 710 3100 รวมถึงทัก LINE: @masii มาขอคำแนะนำดี ๆ กันได้เลย